PMsquare ThailandPMsquare ThailandPMsquare Thailand
Select your language :
PMsquare ThailandPMsquare ThailandPMsquare Thailand

พาร์ทสอง: กรณีศึกษาจากวิกฤติการณ์ระดับโลกที่ผ่านมา

โดย Rod Hozack จาก Oliver Wight

สามารถอ่านส่วนของบล็อกพาร์ทแรกได้ที่นี่ Part One Planning for the unpredictable – five lessons learned

ผมทำงานกับองค์กรระดับโลกมาเป็นเวลานาน เพื่อช่วยพวกเขาในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทางธุรกิจ หลายปีที่ผ่านมามีวิกฤติการณ์เกิดขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลกที่ส่งผลต่อบริษัทเหล่านี้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับโควิด-19 อย่างวิกฤตค่าเงินในปี 1997 เหตุการณ์ 11 กันยา การระบาดของโรคซาร์ในปี 2003 วิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2008 และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่น แต่ก็สร้างความเสียหายอย่างหนักไม่แพ้กัน อย่างเหตุการณ์แผ่นดินไหว ภัยแล้ง น้ำท่วม และไฟไหม้ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในแต่ละครั้งผมมักจะได้ยินผู้คนพูดถึงว่าแต่ละเหตุการณ์แตกต่างกันอย่างไรบ้าง และมองว่าเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งก็จริงอย่างที่ว่าในระดับหนึ่ง แต่คุณควรที่จะหันมาวางแผนเพื่อรับมือกับเหตุการณ์เหล่านั้นให้ได้ด้วย เหตุการณ์โควิด 19 จะผ่านไป แต่ก็จะมีเหตุการณ์ใหม่ๆ ที่เข้ามาแล้วส่งผลกระทบต่อธุรกิจของคุณอยู่เสมอ

ผู้คนที่ไม่สามารถจดจำอดีตได้ ักจะทำผิดซ้ำเหมือนเดิมอีก
– George Santayana

คำพูดดังกล่าวยังคงใช้ได้จนถึงทุกวันนี้ แต่ในมุมมองทางธุรกิจ การทำความเข้าใจว่าผู้คนตอบสนองต่อวิกฤติการณ์ที่เคยเกิดขึ้นอย่างไรนั้นสำคัญพอๆ กันกับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วิกฤตการณ์กระตุ้นให้คนหันมารวมตัวกันอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การพยายามคิดกลยุทธ์ในช่วงที่อยู่ ‘กลางสมรภูมิ’ อาจไม่เป็นที่น่าเชื่อถือนัก ผู้คนควรให้ความสนใจกับการคิดวางแผนเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ปกติมากกว่า แต่ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นล่ะคำตอบอยู่ในคำถามที่บริษัทต่างๆ ก็ถามตัวเองอยู่เหมือนกัน 

Peter Drucker นักธุรกิจและนักวิจารณ์ที่มีชื่อเสียงได้กล่าวไว้ว่า “ความผิดพลาดที่ใหญ่ที่สุดไม่ได้เป็นผลลัพธ์ของคำตอบที่ผิด ความคิดที่เป็นอันตรายแท้จริงแล้วมาจากการถามคำถามที่ผิดต่างหาก” คำถามที่บริษัทถามตัวเองเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการควบคุมสิ่งที่พวกเขาทำและวิธีการที่พวกเขาจะใช้ตอบสนองต่อวิกฤติการณ์เหล่านั้น

มาดูที่ตัวอย่างเหล่านี้กันดีกว่า 

กรณีที่ 1: ผู้ผลิตถังแก๊สหุงต้มที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกรายหนึ่งเคยขายสินค้าจำนวนมากในตลาดญี่ปุ่น แต่พวกเขาไม่ได้ทำการขายมาแล้วสามเดือนด้วยผลพวงจากเหตุการณ์ 9/11 บริษัทยังอยู่รอดในช่วงเวลาที่ไม่มีกิจกรรมค้าขายเกิดขึ้นได้ด้วยการหันมามุ่งเน้นที่การปรับปรุงใหม่และขายสินค้าคอมโพสิตให้กับลูกค้าปัจจุบันจนกว่าจะค่อยๆ เริ่มมีคำสั่งซื้อเข้ามาใหม่ในช่วงต้นปีถัดมา ดังนั้น พวกเขาตั้งคำถามว่าอะไร? คำถามนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรเลยกับการที่อาคารในนิวยอร์กถูกทำลาย แต่คำถามของพวกเขาคือ ‘พวกเขาจะทำอย่างไรถ้าตลาดในญี่ปุ่นเกิดหยุดชะงักขึ้นมา?”

ทำไมพวกเขาถึงถามคำถามนั้นขึ้นมาล่ะเนื่องจากการค้าในญี่ปุ่นคิดเป็น 40% ของธุรกิจพวกเขา นั่นหมายความว่าบริษัทได้เตรียมพร้อมไว้แล้วหากมีอะไรผิดปกติเกิดขึ้น คำถามถูกตั้งขึ้นและถูกนำไปใช้เป็นพื้นฐานด้วยการวางแผนของบริษัท และนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ธุรกิจสามารถเอาตัวรอดได้ เนื่องด้วยสมมติฐานพื้นฐานเกี่ยวกับความมั่นคงของรูปแบบธุรกิจของพวกเขา

กรณีที่ 2: บริษัทด้านเภสัชกรรมระดับโลกแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในนครเซี่ยงไฮ้ พวกเขาแจกจ่ายผลิตภัณฑ์ด้านเภสัชกรรมให้กับประเทศจีนและตลาดอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย โดยธุรกิจนี้มีสองแพลตฟอร์มด้วยกัน แพลตฟอร์มแรกขายผลิตภัณฑ์ด้านโภชนาการสำหรับเด็กทารก และอีกแพลตฟอร์มขายผลิตภัณฑ์ที่เป็นยาปฏิชีวนะ ซึ่งบริษัทมีกระบวนการวางแผนทางธุรกิจแบบบูรณาการที่แข็งแกร่ง และได้ติดตั้งเครื่องมือที่ทำให้สามารถสร้างแบบจำลองด้านการแลกเปลี่ยนการขายระหว่างสองส่วนของธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว 

วิกฤตการณ์ที่บริษัทนี้เผชิญคือโรคซาร์ โดยบริษัทได้ตอบสนองด้วยการตรวจสอบด้านอุปสงค์ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเอาเป็นแบบอย่าง: ู้บริหารใช้เวลาของพวกเขาประมาณ 80% ในการกระตุ้นและทำงานด้านสมมติฐานพื้นฐาน จากนั้นก็ใช้เวลาสั้นๆ ในการเซ็นรับรองการประมาณการและเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น คำถามที่บริษัทนี้ถามก็คือ: “เราจะทำอย่างไรถ้ามีการระบาดของโรคเกิดขึ้น?” และ “เราจะทำอย่างไรถ้ามีการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์นมผงสำหรับเด็กทารก?” จะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าคำถามแรกเป็นคำถามที่บริษัทให้ความสนใจเกี่ยวกับตลาดของยาปฏิชีวนะ ส่วนคำถามที่สองเป็นการทดสอบความคล่องตัวด้านซัพพลายเชนของพวกเขา เนื่องจากระยะเวลารอคอยที่ยาวนานตั้งแต่การสั่งซื้อจนถึงการจัดส่งสินค้า 

กรณีที่ 3: ในปี 2010 บริษัทที่ให้บริการด้านการแพทย์แห่งหนึ่งในประเทศออสเตรเลียที่เคยประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่แล้วก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นไปทั่วโลก ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ตลาดเติบโตขึ้นราวๆ 5-9% ต่อปี แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2010 ตลาดได้อยู่ในจุดที่เรียกได้ว่าต่ำที่สุด การตอบสนองของบริษัทคือการจัดสรรค่าใช้จ่ายด้านส่งเสริมการขายใหม่ และขับเคลื่อนการวางแผนเพิ่มทักษะรอบด้าน (cross-skilling) คำถามที่ถูกตั้งขึ้นมาไม่ใช่ “จะเกิดอะไรขึ้นบ้างหากตลาดโลกเกิดภาวะวิกฤติ?” แต่จะเป็น “เราจะทำอย่างไรหากรัฐบาลถอนเงินอุดหนุนช่วยเหลือ?” ซึ่งเป็นคำถามที่มีความเกี่ยวข้องกับโมเดลธุรกิจพื้นฐานของบริษัท เพราะหากไม่มีการจ่ายเงินช่วยเหลือ ธุรกิจก็ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้

ตัวอย่างเหล่านี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงบริษัทที่มีการเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน พวกเขาวางแผนเพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์ด้วยการตั้งคำถามที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับธุรกิจ บริษัทเหล่านี้ถึงได้อยู่รอดเพื่อต่อสู้ในวันต่อไปได้.. 

ดูสัมมนาออนไลน์ของเราเพิ่มเติมได้ที่นี่: Five Lessons Learned from Planning for The Unpredictable Presented by Oliver Wight & Cornerstone 

Leave A Comment

Please fill-up the form below





Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

Download the Whitepapers

[hubspot type=form portal=2383378 id=6b773102-de9a-4e8c-86ad-af3f7fea5f47]