PMsquare ThailandPMsquare ThailandPMsquare Thailand

เจาะลึกการวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ แบบให้คำแนะนำ และการกำกับดูแลข้อมูล

ธุรกิจจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม การถามคำถามที่ใช่ได้ถูกเวลา และมีข้อมูลที่ถูกกำกับดูแลอย่างเหมาะสมนั้นเป็นเรื่องยาก  

แต่ข่าวดีก็คือมีเทคนิคการวิเคราะห์ต่างๆ ที่จะช่วยให้คุณทำการตัดสินใจได้เป็นอย่างดี เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายตามที่บริษัทต้องการ  

Predictive vs Prescriptive 

ธุรกิจจะมีการตัดสินใจที่ดีและสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่บริษัทต้องการได้ด้วยสองวิธีด้วยกัน โดยแต่ละวิธีไม่ใช่เครื่องมือแบบเดี่ยว และถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่ต่างกันตามจุดประสงค์เฉพาะ แม้ว่าทั้งสองจะเป็นวิธีสำหรับใช้มองไปในอนาคตข้างหน้า แต่ทั้งสองวิธีก็มีการตั้งคำถามที่แตกต่างกัน 

การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ (Predictive Analytics) ถามว่า “จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?” ในขณะที่การวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำทางเลือก (Prescriptive Analytics) ถามว่า “เราจะสามารถทำอะไรให้เกิดขึ้นได้บ้าง?” มาดูกันว่าทั้งสองอย่างนี้มีความสำคัญและแตกต่างกันอย่างไรบ้าง  

การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ (Predictive Analytics) ใช้เทคนิคด้านคณิตศาสตร์และการสร้างแบบจำลองในการตัดสินว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตบ้าง โดยจัดเตรียมจากข้อมูลในอดีตและใช้วิธีการจำลองสถานการณ์เพื่อคาดคะเนเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต 

ในทางตรงกันข้าม การวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำทางเลือก (Prescriptive Analytics) เป็นขั้นตอนที่ก้าวขึ้นไปอีกขั้นด้วยการให้ข้อมูลเชิงลึกและโซลูชันเพื่อนำไปใช้ปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับข้อมูลมาจากผลลัพธ์ของการวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ การวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำทางเลือกจะจัดเตรียมให้ว่ามีชุดข้อมูลอะไรบ้าง ปัญหาที่มีคืออะไร และจะสามารถทำการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไรบ้าง  

ตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์มีเป้าหมายที่จะทำการกำหนดเวลาที่ระบบควรให้บริการ ในขณะที่การวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำทางเลือกจะสามารถกำหนดได้ว่าอะไรที่จำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซมบ้าง วิธีในการซ่อมแซมที่ดีที่สุดคืออะไร นอกจากนี้ยังตัดสินใจเรื่องการใช้เอาท์ซอร์ส เพื่อพัฒนาความสามารถในการทำกำไรและสร้างผลผลิตโดยรวมได้อีกด้วย 

การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ด้อยกว่าการวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำทางเลือกหรือไม่? 

การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์เป็นการแนะนำว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ไม่ได้บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าคุณควรปฏิบัติเพื่อรับมืออย่างไร เนื่องจากเป็นวิธีที่มุ่งเน้นตัวแปรที่จำกัดเพื่อการวิเคราะห์ความเสี่ยงในระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งการวิเคราะห์เชิงพยากรณ์จะประเมินแต่ละตัวแปรแยกจากกัน โดยไม่ได้ไม่วิเคราะห์ผลกระทบแบบองค์รวมของทุกตัวแปร ตัวอย่างเช่น คำนวณและประมาณการความสำเร็จด้านการขายของบริษัท แต่ไม่ได้พิจารณาผลกระทบของราคาวัตถุดิบที่อาจเพิ่มสูงขึ้นในต้นทุนการขาย  

ในทางตรงกันข้าม การวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำทางเลือกไม่ได้เพียงตัดสินว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้างเท่านั้น แต่จะบอกด้วยว่าคุณควรทำอะไรบ้าง โดยอธิบายว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้างภายในองค์กร และชี้ให้เห็นขั้นตอนที่ดีที่สุดในการสร้างผลกำไรและให้ผลตอบแทนที่สูงสุด  

ทั้งสองวิธีต่างก็มีประโยชน์ที่จับต้องได้ อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วผลลัพธ์จากการวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำทางเลือกมักมีน้ำหนักกว่าการวิเคราะห์เชิงพยากรณ์  

ไม่ว่าคุณจะใช้วิธีการวิเคราะห์แบบไหน องค์กรของคุณก็ต้องมีเครื่องมือที่ช่วยทำการตัดสินใจได้ในระยะยาว และคุณสามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้หากคุณมีการกำกับดูแลข้อมูลที่ดี 

คุณพร้อมที่จะลงมือปฎิบัติด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับธุรกิจของคุณแล้วหรือยัง?  

IBM Cloud Planning Analytics เป็นโซลูชันสำหรับการกำกับดูแลจัดการข้อมูลที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถทำการตัดสินใจเชิงพยากรณ์และแบบให้คำแนะนำทางเลือกได้ ติดต่อพีเอ็มสแควร์ พาร์ทเนอร์ด้านธุรกิจระดับแพลทินัมของ IBM ได้แล้ววันนี้! 

Please fill-up the form below





Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

Download the Whitepapers

[hubspot type=form portal=2383378 id=6b773102-de9a-4e8c-86ad-af3f7fea5f47]